กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.)
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2539 ให้เริ่มดำเนินการกองทุนในลักษณะเงินทุนหมุนเวียนตามนัยมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 ต่อมารัฐบาลได้พิจารณาเห็นความสำคัญของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษามากขึ้น จึงได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 มีผลให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยอยู่ในการกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้กู้ยืมเงินแก่นักเรียน หรือนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อเป็นค่าเล่าเรียน ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่องกับการศึกษา และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการครองชีพระหว่างศึกษา
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาดำเนินการให้กู้ยืมตั้งแต่ปีการศึกษา 2539 โดยให้เงินกู้ยืมแก่นักเรียนนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายสามัญและสายอาชีพ) จนถึงระดับปริญญาตรี กองทุนนับเป็นกลไกสำคัญของรัฐบาลที่ให้การสนับสนุนการขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษาของประเทศ เพื่อให้เยาวชนไทยได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานอย่างเท่าเทียมกัน
1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย
2. เป็นผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดดังนี้
ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ หมายความว่า ผู้ที่มีรายได้ครอบครัวไม่เกิน 360,000 บาท/ต่อปี รายได้ต่อครอบครัวพิจารณาตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ดังต่อไปนี้
2.1 รายได้รวมของนักศึกษาผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของบิดามารดา ในกรณีที่ บิดามารดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง
2.2 รายได้รวมของนักศึกษาผู้ขอกู้ยืม รวมกับรายได้ของผู้ปกครองในกรณีที่ผู้ใช้อำนาจปกครอง
3. มีคุณสมบัติอื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด ดังนี้
3.1 เป็นผู้ที่มีผลการเรียนดีหรือผ่านเกณฑ์การวัดและประเมินผลของมหาวิทยาลัย
3.2 เป็นผู้มีความประพฤติดี ไม่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของสถาบันการศึกษาขั้นร้ายแรงหรือไม่เป็นผู้ที่มีความประพฤติเสื่อมเสีย เช่น หมกมุ่นในการพนัน เสพยาเสพติดให้โทษ ดื่มสุราเป็นอาจิณ เป็นต้น
3.3 เป็นผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามระเบียบหรือประกาศของมหาวิทยาลัย
3.4 ไม่เคยเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาใดๆมาก่อน
3.5 ไม่เป็นผู้ที่ทำงานประจำในระหว่างศึกษา
3.6 ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย
3.7 ไม่เป็นหรือเคยเป็นผู้ได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
3.8 ต้องมีอายุในขณะที่ขอกู้ โดยเมื่อนับรวมกับระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี และระยะเวลาผ่อนชำระอีก 15 ปี รวมกันแล้ว ต้องไม่เกิน 60 ปี
ผู้รับรองรายได้ครอบครัวผู้ขอกู้ คือใคร ต้องรับผิดชอบในหนี้สินที่นักศึกษากู้หรือไม่ ?
ผู้รับรองรายได้ คือ คนที่รับรองว่าอาชีพและรายได้ของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง เป็นจริงตามที่ระบุไว้ในแบบฟอร์ม ไม่ต้องรับผิดชอบในหนี้สินที่นักศึกษากู้ และไม่มีชื่อปรากฎในสัญญาเงินกู้แต่อย่างใด
ผู้ที่มีสิทธิ์รับรองรายได้ของครอบครัว คือใคร ได้บ้าง ?
1) เจ้าหน้าที่ของรัฐ(ได้ทุกระดับชั้น)
“เจ้าหน้าที่ของรัฐ” หมายความว่า
(1) ข้าราชการการเมือง
(2) ข้าราชการกรุงเทพมหานคร
(3) ข้าราชการครู
(4) ข้าราชการตำรวจ
(5) ข้าราชการทหาร
(6) ข้าราชการฝ่ายตุลาการ
(7) ข้าราชการฝ่ายรัฐสภา
(8) ข้าราชการฝ่ายอัยการ
(9) ข้าราชการพลเรือน
(10) ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
(11) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา
(12) สมาชิกสภาท้องถิ่นและหรือผู้บริหารท้องถิ่น
(13) ข้าราชการหรือพนักงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
(14) กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
(15) เจ้าหน้าที่หรือพนักงานของรัฐวิสาหกิจ องค์กรของรัฐ หรือองค์การมหาชน
(16) ข้าราชการ พนักงาน หรือเจ้าหน้าที่อื่นซึ่งมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้
2) เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับบำเหน็จบำนาญ
“เจ้า หน้าที่ของรัฐผู้รับบำเหน็จบำนาญ” หมายความว่า เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งออกจากราชการหรือพ้นจากตำแหน่ง โดยมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ
3) สมาชิกสภาเขต สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร/ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
เอกสารที่ต้องเตรียมมีทั้งเอกสารของนักศึกษาผู้กู้ ของบิดา มารดา (หรือผู้ปกครอง) และของผู้รับรองรายได้ ได้แก่
1 เอกสารของนักศึกษาผู้กู้ (เอกสารทุกใบเจ้าของเอกสารต้องรับรองสำเนาด้วยลายมือเจ้าของเอกสารเอง ห้ามรับรองแทนกัน)
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 รูป (รูปชุดนักศึกษามหาวิทยาลัยเกริก)
- แบบขอกู้ยืมใน www.studentloan.or.th
ตัวอย่างการเขียนแบบคำขอกู้ฯ (กรณีบิดา-มารดาแยกทางกัน)
ตัวอย่างการเขียนแบบคำขอกู้ฯ (กรณีบิดา-มารดาเสียชีวิต)
ตัวอย่างการเขียนแบบคำขอกู้ฯ (กรณีบิดา-มารดาอยู่ด้วยกัน) - สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (สำเนาบัตรต้องไม่หมดอายุ)
- ใบแสดงผลการเรียนของมหาวิทยาลัยเกริก (โครงสร้างหลักสูตร) (ผลการเรียนรวม หรือ ผลการเรียนทั้งปีการศึกษาก่อนจะกู้ ต้อง 2.00 ขึ้นไป)
- สำเนาสัญญา หรือ สำเนาใบยืนยันการกู้ที่เคยกู้ ของมหาวิทยาเกริกปีใดก็ได้
- ข้อมูลการโอนเงิน ใน www.studentloan.or.th (ตรวจสอบยอดหนี้ธนาคารกรุงไทย) (ตรวจสอบยอดหนี้นาคารอิสลาม)
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงไทย (สมุดบัญชีเดิมที่ใช้ทำสัญญาที่มหาวิทยาลัยเกริก)
- หนังสือรับรองเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาเพื่อสังคม (ไม่น้อยกว่า 36 ชั่วโมง)
- สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล (ถ้ามี)
- แบบกรอกความคิดเห็นอาจารย์ที่ปรึกษา
2 เอกสารของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง (เอกสารทุกใบเจ้าของเอกสารต้องรับรองสำเนาด้วยลายมือเจ้าของเอกสารเอง ห้ามรับรองแทนกัน)
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรข้าราชการ หรือบัตรพนักงานรัฐวิสาหกิจ (สำเนาบัตรต้องไม่หมดอายุ)
- สำเนาใบมรณะบัตร (กรณีถึงแก่กรรม)
- สำเนาใบสุทธิพระ (กรณีบวชเป็นพระ)
- สำเนาบัตรประจำตัวผู้พิการ (กรณีไม่สามารถทำงานได้เพราะพิการ)
- ใบรับรองแพทย์ (กรณีป่วยไม่สามารถทำงานได้ หรือไม่สามารถเซ็นเอกสารได้)
- สำเนาใบหย่า (กรณีชื่อผู้ปกครองไม่ตรงกับใบหย่าต้องมีสำเนาใบเปลี่ยนชื่อด้วย)
- สลิปเงินเดือน หรือ หนังสือรับรองเงินเดือนจากสถานที่ทำงาน กรณีบิดามารดาเป็น ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจหรือทำงาน บริษัท และ มีสลิปเงินเดือนทั้ง 2 คน ไม่ต้องกรอกแบบฟอร์มหนังสือรับรองรายได้ (ย้อนหลังได้ไม่เกิน 3 เดือน ณ วันส่งเอกสาร หากเป็นสำเนาเจ้าของเอกสารต้องเซ็นรับรองสำเนาด้วยลายมือเจ้าของเอกสารเอง)
- รูปถ่าย + แผนผังที่ตั้งที่อยู่อาศัยของ บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง
3 เอกสารของผู้รับรองรายได้ (เอกสารทุกใบเจ้าของเอกสารต้องรับรองสำเนาด้วยลายมือเจ้าของเอกสารเอง ห้ามรับรองแทนกัน)
- หนังสือรับรองรายได้ ( ต้องให้ผู้รับรองรายได้เซ็น กรณีบิดา มารดา หรือ ผู้ปกครอง ไม่ได้ทำงานประจำ ไม่มีหนังสือรับรองจากสถานที่ทำงาน )
- หนังสือรับรองสถานภาพ ( ต้องให้ผู้รับรองรายได้เซ็น กรณีบิดา มารดา แยกกันอยู่โดยมิได้จดทะเบียนหย่า หรือไม่ได้ใช้พ่อแม่เป็นผู้ปกครอง )
- หนังสือรับรองการไม่เป็นผู้ที่ทำงานประจำ..(สำหรับนักศึกษาหลักสูตรภาคพิเศษต้องให้ผู้รับรองรายได้เซ็น)
- สำเนาบัตรข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ (สำเนาบัตรต้องไม่หมดอายุ)
- หนังสือรับรองตำแหน่งของผู้รับรอง(กรณีบัตรผู้รับรองหมดอายุ หนังสือรับรองตำแหน่งต้องเป็นปีปัจจุบัน)
1.ผู้กู้ยืมเงินที่มีหน้าที่ชำระเงินกู้ยืมเงินกองทุนฯ
เป็นผู้กู้ยืมเงินที่สำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษาแล้วเป็นเวลา 2 ปี นับจากปีที่สำเร็จการศึกษาหรือเลิกการศึกษา (ครบระยะเวลาปลอดหนี้)
2.หลักเกณฑ์การชำระหนี้
2.1 ผู้กู้ยืมเงินต้องชำระเงินกู้ยืมพร้อมทั้งดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใดร้อยละ 1 ต่อปี โดยต้องคืนให้กองทุน ให้เสร็จสิ้นภายใน 15 ปี นับแต่วันที่ต้องเริ่มชำระหนี้
2.2 ให้ผู้กู้ยืมเงินชำระหนี้งวดแรก ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม หลังจากครบระยะเวลาปลอดหนี้ โดยให้ชำระหนี้คืนเฉพาะเงินต้น ในอัตราร้อยละ 1.5 ของวงเงินที่ได้กู้ยืม
2.3 การชำระหนี้งวดต่อๆ ไป ให้ผู้กู้ยืมเงินชำระเงินต้นคืน ตามอัตราผ่อนชำระที่กองทุนกำหนด พร้อมด้วยดอกเบี้ยหรือประโยชน์อื่นใด ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี ของเงินต้นที่คงค้าง ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม ของทุกปี
2.4 หากผู้กู้ยืมเงินผิดนัดชำระหนี้ ผู้กู้ยืมจะต้องชำระค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมจัดการกรณีผิดนัดชำระหนี้ ตามอัตราที่กองทุนกำหนด
2.5 ผู้กู้ยืมเงินที่มีความประสงค์จะขอชำระหนี้คืนก่อนครบกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ หรือก่อนครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี สามารถชำระคืนได้โดยไม่เสียดอกเบี้ย หรือประโยชน์อื่นใด
หมายเหตุ
– ให้ผู้กู้ยืมเงินไปติดต่อแสดงตน ขอชำระหนี้ และเลือกวิธีการผ่อนชำระเป็นรายปี หรือ รายเดือนกับ บมจ.ธนาคารกรุงไทย หรือธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ได้ทุกสาขาก่อนที่จะครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี
– กรณีผู้กู้ยืมเงินที่ไม่กู้ต่อเนื่อง ติดต่อกัน 2 ปี และไม่แจ้งสถานภาพให้ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืมทราบ จะถือว่าเป็นผู้ครบกำหนดชำระหนี้และมีหน้าที่ชำระหนี้คืนกองทุน
– กรณีผู้กู้ยืมเงินยังอยู่ในระหว่างการศึกษา แต่ไม่ได้กู้ยืมในปีการศึกษาใด ต้องแจ้งสถานภาพการศึกษาต่อผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม โดยให้นำใบรับรองจากสถานศึกษาไปแสดงทุกปีจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา
3. วิธีการนับระยะเวลาการครบกำหนดชำระหนี้ของผู้ที่สำเร็จการศึกษา
ตัวอย่าง ผู้กู้ยืมที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2554 มีระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี ผู้กู้ยืมเงินจะครบกำหนดชำระหนี้คืนภายในวันที่ 5 กรกฎาคม 2560 ดังนี้
4.ช่องทางการชำระหนี้
4.1 ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
ผู้บริหารและจัดการเงินให้กู้ยืม
บมจ.ธนาคารกรุงไทย (KTB)
1.ชำระโดยหักผ่านบัญชีเงินฝาก
บัญชีเดียวกับบัญชีที่ได้รับการโอนเงินค่าครองชีพครั้งสุดท้ายหรือบัญชีออมทรัพย์อื่นที่ผู้กู้ยืมเงิน ประสงค์ให้หักบัญชีเพื่อชำระหนี้โดยให้ถือว่าการบันทึกรายการในสมุดเงินฝากของผู้กู้ยืมเงินเป็นหลักฐานการชำระหนี้
2.ชำระผ่านเคาน์เตอร์ของธนาคาร
โดยให้ถือว่าใบรับเงินชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นหลักฐานการชำระหนี้ โดยระบุกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ชื่อ-สกุล เลขบัตรประชาชน จำนวนเงินที่ชำระ และลงลายมือชื่อ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งให้ถือว่าใบรับเงินเพื่อชำระหนี้เป็นหลักฐานการชำระหนี้
3.ชำระหนี้ทาง ATM
ใช้เลขบัตรบัตรประชาชนเป็นรหัสทำรายการ โดยให้ถือว่า
สลิป ATM เป็นหลักฐานการชำระหนี้
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (IBANK)
1.ชำระโดยหักผ่านบัญชีเงินฝาก
บัญชีเดียวกับบัญชีที่ได้รับการโอนเงินค่าครองชีพครั้งสุดท้ายหรือบัญชีออมทรัพย์อื่นที่ผู้กู้ยืมเงิน ประสงค์ให้หักบัญชีเพื่อชำระหนี้โดยให้ถือว่าการบันทึกรายการในสมุดเงินฝากของผู้กู้ยืมเงินเป็นหลักฐานการชำระหนี้
2.ชำระผ่านเคาน์เตอร์ของธนาคาร
โดยให้ถือว่าใบรับเงินชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาเป็นหลักฐานการชำระหนี้ โดยระบุกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ชื่อ-สกุล เลขบัตรประชาชน จำนวนเงินที่ชำระ และลงลายมือชื่อ พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งให้ถือว่าใบรับเงินเพื่อชำระหนี้เป็นหลักฐานการชำระหนี้
3.ชำระหนี้ทาง ATM
ใช้เลขบัตรบัตรประชาชนเป็นรหัสทำรายการ โดยให้ถือว่า
สลิป ATM เป็นหลักฐานการชำระหนี้
4.ชำระหนี้ทาง INTERNET ผ่าน KTB ONLINE
ผู้กู้ยืมสามารถสอบถามรายละเอียด วิธีการชำระหนี้ได้ที่ บมจ.ธนาคารกรุงไทย โดยให้ถือว่า Statement ของบัญชีที่แจ้งความประสงค์ชำระหนี้ เป็นหลักฐานการชำระหนี้
4.2 บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
4.3 บริษัท เคาน์เตอร์ เซอร์วิส จำกัด โดยผู้กู้ยืมจะสามารถชำระหนี้ผ่านสาขาที่ให้บริการรับชำระเงินผ่านร้านสะดวกซื้อ ( 7-ELEVEN) และสาขาที่ไม่ได้ตั้งอยู่ในร้านสะดวกซื้อ รวม 9,300 สาขา สำหรับงวดที่ครบกำหนดชำระหนี้เริ่มวันที่ 5 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป