เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566 มหาวิทยาลัยเกริกได้จัด โครงการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “บทบาทของสถาบันการศึกษากับนโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (OBOR) โดยได้รับเกียรติ ศาสตราจารย์ ดร.น.พ. กระแส ชนะวงศ์ อธิการมหาวิทยาลัยเกริก เป็นประธานเปิดงาน และได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ “บทบาทสถาบันการศึกษากับนโยบาย OBOR”
ภายในงานสัมมนาวิชาการ มีการบรรยายพิเศษ เรื่อง “การขยายบทบาทของจีนผ่านยุทธศาสตร์ The Belt and Road Initiative (BRI) ผลกระทบต่ออาเซียนและไทย” โดย ศ.(พิเศษ) วิบูลย์ ตั้งกิตติภาภรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจีนศึกษา และการเสวนาวิชาการ “จีนสมัยที่ 3 ของสี จิ้นผิง : Belt and Road Initiative (BRI) วิกฤตหรือโอกาสของไทย”
1. “การศึกษายุคใหม่ : ความหลากหลาย ศักยภาพและโอกาสทางการศึกษาไทย” โดย ศ.ดร. จรัญ มะลูลีม คณบดีวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ และรองอธิการบดีฝ่ายต่างประเทศ มหาวิทยาลัยเกริก
2. ประโยชน์และความท้าทาย ของ Belt and Road Initiative (BRI): ด้านการศึกษาและวัฒนธรรม โดย Dr. Luo Yong คณบดีวิทยาลัยนานาชาติภาษาและวัฒนธรรมจีน และรักษาการผู้อำนวยการสถาบันไทย-จีน-อาเซียน
3. Belt and Road Initiative (BRI) เส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 : การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ผลกระทบเชิงนิเวศและความปลอดภัย โดย Dr.Ming Hsun Hsie คณบดีคณะศิลปศาสตร์ และรักษาการผู้อำนวยการสถาบันการจัดการความปลอดภัยแห่งมหาวิทยาลัยเกริก เนื่องจาก Dr.Ming Hsun Hsie ติดภารกิจ จึงให้ ดร.สมชัย พุทธา เป็นตัวแทนในการสัมมนาวิชาการ และสุดท้ายของการสัมมนาการบรรยายพิเศษ เรื่อง BRI: การเตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติบทบาทอาเซียนและไทย” โดย ดร. พิจิตต รัตตกุล ผู้อำนวยการศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติประเทศไทย การจัดงานสัมมนาครั้งนี้ได้รับความสนใจจากบุคคลทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัยเกริกเป็นจำนวนมาก
รูปภาพเพิ่มเติม : https://www.facebook.com/krirk.uni/posts/pfbid0zyrWtCKmkgbf947ADL4FepUxkLxwWUzPJHfESAerAVJ23NCegdzohHny8z1pZybjl