เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 มกราคม 2567 ณ ห้องประชุมสภา มหาวิทยาลัยเกริก โดยสำนักงานการต่างประเทศ ให้การต้อนรับคณะผู้แทนจากมหาวิทยาลัย TUNKU ABDUL RAHMAN UNIVERSITY OF MANAGEMENT AND TECHNOLOGY (TAR UMT) โดยมีรองศาสตราจารย์ Say sok kwan รองอธิการบดี ฝ่ายบริหารและการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะ พร้อมด้วย ศาสตราจารย์ ดร. Loke chui fung รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาและการพาณิชย์,ดร. Lim li li คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี,และอาจารย์ Dearna kee june chen คณบดีคณะนิเทศศาสตร์และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เดินทางเข้าพบผู้บริหารของมหาวิทยาลัยเกริก โดยมี ศ.ดร.นายแพทย์ กระแส ชนะวงศ์
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก, Mr. Wang Changming ประธานกรรมการบริหาร มหาวิทยาลัยเกริก, ศ.ดร.จรัญ มะลูลีม รองอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ, ดร.บัณฑิต อารอมัน ผู้ช่วยรองอธิการบดีฝ่ายการต่างประเทศ, Dr. John Chistopher Walsh รองคณบดีวิทยาลัยนานาชาติหลักสูตรภาษาอังกฤษ, อาจารย์ชนิดาภา หนูนวลวุฒิวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานการต่างประเทศ อาจารย์อำพล ตระการฤกษ์ หัวหน้าศูนย์ภาษาอาหรับกรุงเทพ ตลอดจน คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา ร่วมให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น
มหาวิทยาลัย TUNKU ABDUL RAHMAN UNIVERSITY OF MANAGEMENT AND TECHNOLOGY (TAR UMT) เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุด
ในมาเลเซีย มีความเป็นเลิศทางวิชาการมาอย่างยาวนาน ตลอดระยะเวลากว่า 5 ทศวรรษ มีบัณฑิตสำเร็จการศึกษาจากสถาบันแห่งนี้เป็นจำนวนมาก จากหลากหลายพื้นที่ทั่วโลก ปัจจุบันมหาวิทยาลัย TAR UMT มีการขยายวิทยาเขตการศึกษาในหลายรัฐของมาเลเซีย ได้แก่ กัวลาลัมเปอร์,รัฐปีนัง,รัฐเปรัค,รัฐปาหัง,
รัฐยะโฮร์,และรัฐซาบาห์
มหาวิทยาลัย TAR UMT มีพันธมิตรทางการศึกษาในต่างประเทศกว่า 200 สถาบัน ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปเอเชีย อาทิ ประเทศอินเดียและจีน
สำหรับแนวทางการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยยังคงมุ่งเน้นการผลิตกำลังคน
ที่มีทักษะสูงเพื่อป้อนสู่ระบบอุตสาหกรรม
พร้อมกันนี้ มหาวิทยาลัยยังนำปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ระบบอุตสาหกรรมประสบพบเจอเข้าบรรจุในหลักสูตรการเรียนการสอน รวมถึงการวิจัยหลักสูตรเพื่อแก้ไขปัญหาด้วย
นอกจากหลักสูตรการเรียนการสอนแล้วมหาวิทยาลัยยังมีกรอบความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ ซึ่งมีโครงการการแลกเปลี่ยนนักศึกษา การแลกเปลี่ยนบุคลากรและเจ้าหน้าที่ ตลอดจน การเรียนในหลักสูตรระยะสั้นอีกด้วย ในมิติด้านอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยฯหวังที่จะขยายเครือข่ายการวิจัยไปยังมหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทยในอนาคต
สำหรับการเดินทางเยือนของผู้แทนในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มศักยภาพความร่วมมือ
ทางวิชาการ อาทิ โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา,โครงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์,โปรแกรมการศึกษาต่อต่างประเทศ,การเข้าถึงอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการเฉพาะ,การเข้าถึงสื่อการสอน, การวิจัย การตีพิมพ์ รวมถึงการจัดการประชุมและสัมมนาร่วม ตลอดจนการจัดกิจกรรมทางการศึกษาและกิจกรรมทางวิชาการ ที่ตั้งอยู่บนผลประโยชน์ร่วมกันของสองสถาบัน
ในช่วงท้ายของการพบปะ รองศาสตราจารย์ Say sok kwan รองอธิการบดี ฝ่ายบริหารและการต่างประเทศ ได้ให้ความสนใจหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจอิสลาม เอกการเงินอิสลาม (Islamic Finance) ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีปริญญาโทและปริญญาเอก
ในวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก รวมถึงให้ความสนใจการบริหารจัดการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium-sized Enterprises, SME) เพื่อเพิ่มศักยภาพหลักสูตรการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย TAR UMT
มหาวิทยาลัยเกริกและมหาวิทยาลัย TAR UMT หวังเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมเพิ่มศักยภาพทางการศึกษา ตลอดจนความร่วมมือทางวิชาการร่วมกัน ผ่านการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) ระหว่างสองสถาบันในอนาคตอันใกล้นี้