หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
Bachelor of Technology Program in
Information and Communication Technology (English Program)
หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) ได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยเกริก ในปี พ.ศ. 2567 เป็นหลักสูตรที่ตอบสนองและสอดคล้องกับความต้องการทุกภาคส่วน ทั้งทิศทางการพัฒนาประเทศ (ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580)) ทิศทางการพัฒนาของมหาวิทยาลัย (แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเกริก ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2564-2568)) และออกแบบหลักสูตรสอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับการผลิตบัณฑิต (ที่มาของ Program Learning Outcome (PLO) ของหลักสูตร) หลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้มีความรู้และทักษะ ทั้งด้านวิชาการและปฏิบัติในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สามารถสื่อสารกับบุคคลทั่วไปทั้งในและต่างประเทศได้เนื่องจากได้รับการศึกษาด้วยภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากลหนึ่งของสหประชาชาติ นอกจากองค์ความรู้แล้ว หลักสูตรยังปลูกฝังตามแนวพันธกิจของมหาวิทยาลัยเกริกที่ต้องการสร้างบัณฑิตที่มีอัตลักษณ์ 4 ด้าน คือ คนดี คนเก่ง มีวินัย ภูมิใจในชาติ จากองค์ประกอบดังกล่าว บัณฑิตจึงสามารถครองตนให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและสนับสนุนทิศทางการพัฒนาของสังคมโดยส่วนรวม
จุดเด่นของสาขาวิชา
คณาจารย์ในสาขาวิชามีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มีความพร้อมทั้งด้านองค์ความรู้และประสบการณ์ตรง มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศมาร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เสริม หลักสูตรให้ความสำคัญกับการสร้างบัณฑิตที่มีความพร้อมทั้งองค์ความรู้ และทักษะปฏิบัติ จะเห็นได้จากโครงสร้างหน่วยกิตในเนื้อหาของหลักสูตรทีมีการสอดแทรกการปฏิบัติเสริมไปกับภาคทฤษฎีเสมอ การออกแบบหลักสูตรคำนึงถึงหลักการ outcome-based education (OBE) ฉะนั้นนักศึกษาจะได้รับการฝึกฝนในองค์ความรู้หลักด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ด้วยภาษาอังกฤษ) สอดคล้องกับความต้องการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการผลิตบัณฑิต นักศึกษาจะได้รับการฝึกฝนให้สามารถศึกษาด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องจากสื่อต่าง ๆ ตัวอย่างองค์ความรู้และทักษะที่สำคัญที่นักศึกษาของหลักสูตรในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจะได้รับการพัฒนา เช่น การพัฒนาซอฟต์แวร์ การวิเคราะห์และแก้โจทย์ปัญหาในเชิง ICT การบริหารโครงการ ระบบฐานข้อมูล วิทยาการข้อมูล ระบบเครือข่าย ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence, AI) อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (internet of things, IoT) และ ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล ระบบและไซเบอร์ เป็นต้น องค์ความรู้และทักษะเหล่านี้สามารถตอบสนองความต้องการในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในระดับชาติและนานาชาติ บัณฑิตจะมีความพร้อมในการนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปทำงานหรือต่อยอดศึกษาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป ส่งผลต่อการเสริมศักยภาพด้านความสามารถในการแข่งขันทั้งส่วนตัวบัณฑิตเอง องค์กรที่สังกัด ประเทศชาติและสังคมโดยส่วนรวม
โครงสร้างรายวิชา
1. ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Technology Program in Information and Communication Technology (English Program)
2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อเต็ม (ไทย): เทคโนโลยีบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
ชื่อย่อ (ไทย): ทล.บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ): Bachelor of Technology (Information and Communication Technology)
ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.Tech. (Information and Communication Technology)
หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2567
การศึกษาตามหลักสูตรนักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนวิชาต่างๆ ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต
มีรายละเอียดดังนี้
|
|
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 2. หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 2.1 วิชาแกน 2.2 วิชาเอกบังคับ 2.3 วิชาเอกเลือก ไม่น้อยกว่า 3. หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า | 24 90 15 60 15 6 |
หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า | 120 |
คณาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
ผศ.ดร.วสุธาน ตันบุญเฮง
– D.Eng. (Computer Engineering) Keio University, Japan
– M.Eng. (Computer Engineering) Keio University, Japan
– วศ.บ. (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์) เกียรตินิยมอันดับ 2 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดร.ชุณหพงศ์ ไทยอุปถัมภ์
– D. (Information Technology) Vanderbilt University, USA
– S. (Information Systems) Hawaii Pacific University, USA
– วศ.บ. (ไฟฟ้า) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดร.ขยัน จันทรสถาพร
– ปร.ด. (เทคโนโลยีสารสนเทศ) มหาวิทยาลัยรังสิต
– B.A. (General Business) Drexel University, USA
– วศ.บ. (อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม) สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน
– บธ.บ. (การเงินและการธนาคาร) เกียรตินิยมอันดับ 2 มหาวิทยาลัยรามคำแหง
อ.ศุภณัฐ ค้าทอง
– วท.ม. (เทคโนโลยีสารสนเทศ) มหาวิทยาลัยรังสิต
– บธ.บ. (คอมพิวเตอร์ธุรกิจ) มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
อ.Yong Li
– S. (Computer and Information Sciences) Clark Atlanta University, USA
– S. (Civil Engineering) Beijing University of Technology, China
– S. (Civil Engineering) Beijing University of Technology, China
หลักสูตรนี้เหมาะกับใคร
ปัจจุบันโลกทั้งภาครัฐ ธุรกิจ และอุตสาหกรรม ล้วนมีทิศทางมุ่งสู่การประยุกต์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อลดต้นทุน เพิ่มศักยภาพและความสามารถในการแข่งขัน ความต้องการแรงงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจึงอย่างต่อเนื่องทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ นอกจากเข้าสู่ตลาดแรงงานแล้ว การบังเกิดของผู้ประกอบการใหม่ (startup entrepreneur) ที่อิงกับแนวคิดด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก็มีอย่างไม่ขาดสาย แขนงที่สำคัญในสาขานี้ เช่น การพัฒนาซอฟต์แวร์ การวิเคราะห์และแก้โจทย์ปัญหาในเชิง ICT การบริหารโครงการ ระบบฐานข้อมูล วิทยาการข้อมูล ระบบเครือข่าย ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence, AI) อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (internet of things, IoT) และ ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล ระบบและไซเบอร์ เป็นต้น ซึ่งหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) มีความพร้อมในการให้ความรู้และฝึกทักษะแก่ผู้สนใจศึกษาต่อทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร โดยการเรียนการสอนเป็นการเรียนการสอนเต็มเวลา ในเวลาราชการ ในภาคสุดท้ายของการศึกษา นักศึกษาจะมีการทดลองทำงานจริงด้วยการลงทะเบียนในวิชาสหกิจศึกษาที่ต้องไปฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริง
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- นักเทคโนโลยีสารสนเทศ
- นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ
- นักพัฒนาซอฟต์แวร์
- นักพัฒนาเว็บไซต์
- ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์
- ผู้ดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล
- นักวิชาชีพในองค์กรที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- ผู้ประกอบอาชีพอิสระด้านคอมพิวเตอร์
ค่าใช้จ่ายของหลักสูตร
ค่าใช้จ่ายในการเรียนภาคปกติ แบบเหมาจ่าย ภาคละ 68,000 บาท
การศึกษาประกอบด้วย ภาคต้น และ ภาคปลาย ตามปฏิทินของวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกริก
- ภาคต้น ตั้งแต่เดือน สิงหาคม ถึง ธันวาคม
- ภาคปลาย ตั้งแต่เดือน มกราคม ถึง พฤษภาคม
- ภาคฤดูร้อน ตั้งแต่เดือน มิถุนายน ถึง กรกฎาคม
(การพิจารณาเปิดภาคฤดูร้อน สามารถเปิดได้ โดยผ่านการพิจารณาอนุมัติตามระเบียบของมหาวิทยาลัย)
| ระยะเวลาในการเรียน | ค่าเล่าเรียนตลอดหลักสูตร |
|
ภาคปกติ จันทร์ – ศุกร์ | 4 ปี (แบ่งเป็น 7 ภาคการศึกษา) | 476,000 บาท คิดเป็นต่อภาคการศึกษา = 68,000 บาท | แบบเหมาจ่าย ปีละ 136,000 บาท ไม่รวมภาคฤดูร้อน |
ภาคปกติ
สำหรับผู้จบม. 6 / กศน.กำหนด 6 / ปวช. (หรือเทียบเท่า ตามที่มหาวิทยาลัยรับรอง)
- ค่าภาคการศึกษาเหมาจ่าย ภาคการศึกษาละ 68,000 บาท
- มีทุนการศึกษา โปรดติดต่อสาขาวิชาวิชา
- สามารถเรียนจบได้ภายในเวลา 3 ปีครึ่ง
- มีหอพักให้อยู่ฟรี 1 ปี
- สิทธิพิเศษอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น เรียนภาษาจีน และ ภาษาอังกฤษพื้นฐาน ฟรี มีสิทธิ์ไปเรียนภาษาจีนเพิ่มเติมที่ประเทศจีน
สำหรับผู้จบ ปวส. หรือสูงกว่า
สามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้ (ตามระเบียบของมหาวิทยาลัย และ ความเห็นชอบของคณะกรรมการสาขาวิชา)
รูปแบบการเรียนการสอน
การเรียนการสอนใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อตลอดหลักสูตร กระบวนการจัดการศึกษาเน้นให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้ได้รับประสบการณ์ตรง เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้และสิ่งประดิษฐ์ใหม่โดยการใช้กระบวนกระบวนการคิด กระบวนการระดมสมอง การเรียนการสอนมุ่งให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติควบคู่กับการเรียนภาคทฤษฎี สนับสนุนให้ผู้เรียนได้ฝึกค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเอง ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์และมีส่วนร่วมในการพัฒนาความคิดวิเคราะห์ เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ได้กับการเรียนการสอน อันจะนำไปสู่การสามารถปฏิบัติจริงในอนาคต
การจัดการเรียนการสอน
ภาคปกติ ในเวลาราชการ
จันทร์-ศุกร์
ตามปฏิทินการศึกษา ของ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยเกริก
ช่องทางการติดต่อ
ดร.ขยัน จันทรสถาพร
โทรศัพท์มือถือ: 0816418587
อีเมล: kayun.cha@krik.ac.th, dr.kayun@gmail.com