ผลการจัดอันดับ QS ในระดับเอเชีย ประจำปี 2566 มหาวิทยาลัยเกริก ได้รับการจัดอับที่ 149 ของเอเชีย อันดับที่ 5 ของประเทศไทยและได้รับรางวัล “QS Five-Star Excellent University”
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ตามเวลาประเทศไทย บริษัท คอกโครัลลีไซมอนส์ Quacquarelli Symonds (QS) ได้จัดการประชุม (QS Higher Ed Summit : Asia Pacific 2022 ) ณ กรุงจาการ์ตา เมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งงานนี้เป็นการประชุมการศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่ใหญ่ที่สุดที่จัดโดย QS ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกโดยมี Ma’ruf Amin รองประธานาธิบดีอินโดนีเซียให้เกียรติเข้าร่วมและกล่าวถึงความสำคัญในการจัดงานครั้งนี้ นอกจากนี้ รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ยังได้เดินทางมาเข้าร่วมงานในครั้งนี้อีกด้วย อีกทั้งยังมีสถาบันการศึกษาและมหาวิทยาลัยอีกหลากหลายแห่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ที่ได้ส่งตัวแทนมาเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ซึ่งถือได้ว่าในการจัดงานครั้งนี้ได้รับความสนใจจากทั่วโลกเป็นอย่างมาก
QS เป็นองค์กรชั้นนำระดับโลกในด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษา ซึ่งส่วนใหญ่รับผิดชอบในการดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาในระดับโลก มีการแบ่งปันข้อมูลที่ทันสมัยทางด้านการศึกษาในระดับอุดมศึกษาทั่วโลก รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลที่น่าเชื่อถือให้กับสื่อต่างๆทั่วโลกในปัจจุบัน QS World University Rankings™ ถือเป็นหนึ่งในการจัดอันที่มีอิทธิพลที่สุดในโลกที่มีมหาวิทยาลัยชั้นนำจากทั่วโลกเข้าร่วมการจัดอันดับ
ในการประชุม (QS Higher Ed Summit : Asia Pacific) QS ได้เปิดเผยรายชื่อสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่เข้าร่วมการจัดอันดับในเอเชีย ครั้งล่าสุดในปี 2023 ซึ่งการจัดอันดับในครั้งนี้ ได้คัดเลือกสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา จำนวน 760 แห่ง จากสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา ที่เข้าร่วมมากกว่า 8,000 แห่งในเอเชีย ซึ่งถือว่ามีจำนวนมากกว่าในปีที่ผ่านๆมา ซึ่งสำหรับประเทศไทยนั้น มีมหาวิทยาลัย จำนวน 6 แห่ง ที่ได้รับการจัดอันดับอยู่ในระดับ 150 อันดับแรกซึ่งได้แก่ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกริก และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
โดยตัวชี้วัดในการจัดอันดับของ QS ในระดับเอเชียนั้น ได้มีการพิจารณาอย่างครอบคลุมมากกว่า สิบด้านรวมทั้งด้านวิชาการและการสอน ซึ่งเป็นจุดศูนย์รวมที่แสดงถึงความแข็งแกร่งที่ครอบคลุมทั้งการสอนและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่เข้าสู่อันดับ 150 แรกล้วนแต่เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำที่มีประวัติศาสตร์มายาวนาน ซึ่งทั้งหมดเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำและมีชื่อเสียงที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และในบรรดามหาวิทยาลัยเอกชนในประเทศไทย มหาวิทยาลัยเกริก เป็นเพียงมหาวิทยาลัยแห่งเดียวที่ได้การจัดอันดับในระดับ 150 อันดับแรกของการจัดอันดับ QS ในระดับเอเชีย และอยู่ในอันดับที่ 34 ของกลุ่มมหาวิทยาลัยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอยู่อันดับที่ 5 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย
สถาบัน QS กล่าวว่า “มันไม่ง่ายเลยที่จะเข้าสู่การจัดอันดับ QS จากมหาวิทยาลัยมากกว่า 30,000 แห่งทั่วโลก ซึ่งหมายความว่ามหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ให้ความสำคัญทางการศึกษามากขึ้น พัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพเพื่อให้นักศึกษาได้รับประโยชน์อย่างสูงสุด และมุ่งมั่นที่ในการทำงานวิจัยเชิงวิชาการมาขึ้นด้วยเช่นกัน จึงพูดได้ว่ามหาวิทยาลัยที่ผ่านการคัดเลือกการจัดอันดับถือว่าได้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานในระดับสูงและเป็นที่ยอมรับ การจัดอันดับ QS ยังแสดงให้นักศึกษาที่สนใจในการศึกษาต่อในต่างประเทศเห็นว่ามหาวิทยาลัยเหล่านี้มีคุณภาพและสร้างความเชื่อมั่นในการตัดสินใจเข้ารับการศึกษา”
ในการประชุมครั้งนี้ QS ยังได้มอบใบประกาศนียบัตรให้กับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่มีรายชื่ออยู่ในการจัดอันดับ QS Stars Rankings ในปีนี้ ซึ่งเป็นระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการศึกษาและการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นไปตามมาตรฐานสากลและเป็นที่ได้รับการยอมรับทั่วโลก โดยเริ่มจากระดับ 0-5 ดาว ซึ่งจะประเมินประสิทธิผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยทั่วโลกทั้งหมด 8 ด้าน โดยในปี 2022 มีมหาวิทยาลัย จำนวน 1,200 แห่งทั่วโลกเข้าร่วมในการประเมิน และมีเพียง 83 แห่งที่ได้รับคะแนนในระดับ 5 ดาว ซึ่งมีมหาวิทยาลัยในเอเชียเข้าร่วมจำนวนทั้งสิ้น 650 แห่ง ที่เข้าร่วมการประเมิน และมีเพียง 23 แห่งเท่านั้นที่ได้รับการประเมินคะแนนในระดับ 5 ดาว สำหรับประเทศไทยนั้น มีมหาวิทยาลัยเพียง 3 แห่งเท่านั้น ที่ได้รับการประเมินในระดับ 5 ดาว ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
ในบรรดาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยเกริกได้รับ ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 149 ในการจัดอันดับ QS ในระดับเอเชีย และได้รับการประเมินในระดับ 5 ดาว (QS Stars Rankings) ในปี 2565 ในด้านการสอน ด้านการจ้างงาน ด้านความเป็นนานาชาติ ด้านการพัฒนางานวิจัย ด้านการเรียน ผ่านระบบออนไลน์ ด้านการมีส่วนร่วม เป็นต้น ที่ได้รับการประเมินในระดับ 5 ดาว และเนื่องด้วยคะแนนรวมอยู่ในระดับห้าดาว จึงได้รับเกียรติยกย่องให้เป็น “มหาวิทยาลัยยอดเยี่ยม ระดับ 5 ดาว (Rated Krirk University as a Five Stars Institution for Excellence)
โดยผู้ที่เป็นตัวแทนมหาวิทยาเกริกเดินทางไปเข้าร่วมการประชุมและรับประกาศนียบัตรในครั้งนี้ได้แก่ Dr. Zhang XuWei รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก Dr. Lin YuZhi รองคณบดีฝ่ายวิชาการวิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยเกริก และ Dr. John Walsh รองคณบดีวิทยาลัยนานาชาติมหาวิทยาลัยเกริก จากการให้สัมภาษณ์ของรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกริก Dr. Zhang XuWei กล่าวว่า “รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับรางวัลในครั้งนี้ และขอขอบคุณสถาบัน QS และผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินผลการศึกษาระดับอุดมศึกษาในระดับนานาชาติ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ในวันนี้เป็นผลมาจากความพยายามอย่างไม่ลดละ ของคณาจารย์และนักศึกษาทุกคนของมหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยเกริกต้องขอขอบคุณคณาจารย์ทุกท่านอีกครั้งที่ทุ่มเท กระตือรือร้นในการทำงานด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และพวกเรามีความมุ่งมั่นที่จะทำให้ดีที่สุดเพื่อปรับปรุงยกระดับการสอนและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้แน่ใจว่านักศึกษาของเราจะได้รับคุณภาพการศึกษาและการบริการที่มีประสิทธิภาพและดีที่สุด ความสำเร็จในวันนี้จะเป็นกำลังใจในการทำงานในอนาคตของพวกเรา พวกเราจะทุ่มเทและพยายามให้มากขึ้นเพื่อให้มหาวิทยาลัยของเราเกิดการพัฒนาและเติบโตไปในทิศทางที่ดียิ่งขึ้น”
ที่มา : https://www.topuniversities.com/university-rankings/asia-university-rankings/2023